วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ระบบปฏิบัติการเบื้องต้น






โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
เรื่องระบบปฏิบัติการ




โดย
นางสาว อังคณา วงษาหาร เลขที่ 24 ห้อง พณ. 1/13
นางสาว นริศรา เยาว์วะระ เลขที่ 7  ห้อง พณ. 1/13
นางสาว พัชรา ผาดวงดี เลขที่ 14 ห้อง พณ. 1/13


วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น





โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
เรื่องระบบปฏิบัติการ




โดย
นางสาว อังคณา วงษาหาร เลขที่ 24 ห้อง พณ. 1/13
นางสาว นริศรา เยาว์วะระ เลขที่ 7  ห้อง พณ. 1/13
นางสาว พัชรา ผาดวงดี เลขที่ 14 ห้อง พณ. 1/13


วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น






เรื่อง โครงงาน คอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
เรื่องระบบปฏิบัติการ
ประเภทโครงงาน  โครงงานเพื่อพัฒนาเรื่องการศึกษา
ระดับชั้น ปวช.1
โดยนางสาว อังคณา วงษาหาร เลขที่ 24 ห้อง พณ. 1/13
นางสาว นริศรา เยาว์วะระ เลขที่ 7  ห้อง พณ. 1/13
นางสาว พัชรา ผาดวงดี เลขที่ 14 ห้อง พณ. 1/13
สังกัดองการบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ครูที่ปรึกษาอาจารย์ ธิดารันต์ พลพันธ์สิงห์
ปีการศึกษา  2557
บทย่อ
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความหมายและวิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ วิธีการทำงานและส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการ การทำงานแบบทีละโปรแกรม แบบพร้อมกันหลายโปรแกรม ระบบการแบ่งเวลา บทบาท หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ การจ่ายงาน การจัดสรรหน่วยประมวลผล การบริหารและจัดการหน่วยความจำ การจัดลำดับงานและการจัดสรรทรัพยากร การจัดการรับข้อมูลและการแสดงผล ระบบแฟ้มข้อมูล การใช้ระบบปฏิบัติการที่นิยมกันแพร่หลายบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์



กิตติกรรมประกาศ
โครงงานจากการศึกษาค้นคว้าเรื่องระบบปฏิบัติการฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์จากเพื่อน ๆ ซึ่งผู้มีพระคุณท่านแรกที่ผู้ศึกษาใคร่ขอกราบพระคุณคือ ท่านอาจารย์ ธิดารัตน์พลพันธ์สิงห์ครูผู้สอนที่ได้ให้ความรู้  คำแนะนำตรวจทาน และแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วยความเอาใจใส่ทุกขั้นตอน เพื่อให้การเขียนโครงงานค้นคว้าระบบปฏิบัติการฉบับนี้สมบูรณ์ที่สุดดิฉันต้องขอขอบคุณท่านที่ให้คำแนะนำตรวจทาน และแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ เทคนิคการนำเสนอโครงงานปากเปล่า ผู้ศึกษาใคร่ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่าสูง ไว้ ณ โอกาส นี้ ค้นคว้าอย่างอิสระที่ให้คำแนะนำในการค้นคว้าข้อมูล ความรู้ในด้านต่าง ๆ นักเรียนห้อง พณ. 1/13.ขอขอบคุณค่ะ
                                                                                                                                             นางสาว นริศรา   เยาวะระ
นางสาว อังคณา วงษาหาร
นางสาว พัชรา ผาดวงดี










สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ
บทคัดย่อ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
          ที่มาและความสำคัญ                                                                                1
วัตถุประสงค์                                                                                         2
ขอบเขตการศึกษา                                                                                 2
ผลที่คาดว่าจะได้รับ                                                                              2
บทที่ 2  เอกสารที่เกี่ยวข้อง      
                        1.ความสำคัญของระบบปฏิบัติการ                                                      3
           2.ข้อมูลเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ                                                          3
           3.ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์                                                      4
4.ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์                    6
5.ระบบปฏิบัติการเครือข่าย                                                                  7
บทที่ 3    อุปกรณ์และวิธีการดำเนินการ
บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
บทที่ 5
            1. สรุปผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะ                                          18
2. ภาพผนวก                                                                                         18



บทที่1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือโอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพการส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายการส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพงหรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลางในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กันระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกวันนี้ ได้แก่ไมโครซอฟท์ วินโดวส์แมคโอเอสและลินุกซ์
นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ซึ่งได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันในหน่วยงาน ระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดีเอไอเอกซ์และโซลาริสและรวมถึงลินุกซ์ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยหลักการเดียวกันกับยูนิกซ์
ระบบปฏิบัติการบางตัว ถูกออกแบบมาสำหรับการเรียนการสอนวิชาระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะ เช่นมินิกซ์ซินูหรือพินโทส
ระบบปฏิบัติการMac OSจำกัดแค่คอมพิวเตอร์ของแอปเปิลเท่านั้น
ในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีระบบปฏิบัติการเช่นกัน เช่นไอโอเอสแอนดรอยด์หรือซิมเบียนในโทรศัพท์มือถือ หรือระบบปฏิบัติการTRONในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน
รายชื่อต่อไปนี้เป็นรายชื่อของระบบปฏิบัติการต่าง ๆ



วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการศึกษา เรื่อง ระบบปฏิบัติการ
2.เพื่อใช้เป็นสื่อในการศึกษา ให้กับผู้ที่สนใจ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ
ขอบเขตการศึกษา
1.ขอบเขตด้านต้น เรื่อง ระบบปฏิบัติการ ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์นำเข้า หน่วยประมวล หน่วยความจำ
สำรอง และหน่วยแสดงผล
2. โปรแกรมที่ใช้ในการดเนินงาน ได้แก่
   2.1 โปรแกรม Microsoft Word
   2.2  โปรแกรม Copy



ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้เรียนรู้และสามารถพัฒนาเว็บไซต์ที่สามารถใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้จริง
2.ได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3.สามารถนำความรู้ที่ได้รับการศึกษาเรื่อง ระบบปฏิบัติการ ไปใช้ในการศึกษา




บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
      การทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์เรื่อง ระบบปฏิบัติการ นี้ผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
        1.ความสำคัญของระบบปฏิบัติการ
         2.ข้อมูลเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ
         3.ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์
         4.ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
         5.ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
1.ความสำคัญของระบบปฏิบัติการ
       ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบ ปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น วินโดวส์ (Windows)1) ดอส เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์2) วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส เพื่อเน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้น สามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างที่แสดงผลบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งเพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย วินโดวส์จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน
2.ข้อมูลที่เกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ
      ข้อมูลระบบปฏิบัติการ คือ ส่วนทีสำคัญของซอฟแวร์ระบบ ซึ่งจะจัดการดำเนินการพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่ต้องมีใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง โปรแกรมควบคุมระบบที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกัน เช่น MS-DOS ( Microsoft Disk Operating System ) Windows 95/98/NT, PC-DOS ฯลฯ มีหน้าที่ดังนี้ คือ
1.             เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่ายอุปกรณ์รับข้อมูล และแสดงผลข้อมูล เช่น แป้นพิม์ จอภาพ เครื่องพิมพ์
2.             จัดการติดต่อและควบคุมอุปกรณ์รับและแสดงผลข้อมูล เช่น แป้นพิมพ์ จอภาพ เครื่องพิมพ์
3.             จัดการแบ่งหน่วยความจำสำหรับระบบและผู้ใช้งาน พร้อมทั้งจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล


    แสดงหน้าจอของ MS-DOS Prompt ของ Windows98
MS-DOS จะประกอบด้วยไฟล์ต่าง ๆ จำนวนมากที่ทำงานประสานกัน เราจัดประเภทไฟล์ใน MS-DOS ออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.             ประเภทไฟล์โปรแกรม
2.             ประเภทไฟล์ข้อความ
ตัวอย่างไฟล์มีหลายกลุ่มดังนี้
    • ไฟล์โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาเบสิก ชื่อไฟล์จะมีส่วนขยายหรือนามสกุลด้วย .
    • ไฟล์คำสั่ง ชื่อไฟล์จะมีส่วนขยายลงท้ายด้วย .COM, EXE, SYS เช่น FORMAT.COM, HIMEM.SYS,CHKDSK.EXE เป็นต้น
3.ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์
    ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ต่างๆ   ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรม (Software) ที่ทําหน้าที่ ควบคุมการทํางานของ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบปฏิบัติการจะทําหน้าที่ เป็น ตัวกลางในการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ของเครื่องโดยตรงและโปรแกรมการใช์งานต่าง ๆ
     ความหมายของระบบปฏิบัติการ   โปรแกรมระบบปฏิบัติการ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า  OS (Operating System)  เป็นโปรแกรม ควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ เช่น การแสดงผล ข้อมูลการติดต่อกับผู้ใช้ โดยทําหน้าที่เป็นสื่อกลาง ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องให้สามารถสื่อสารกันได้ควบคุมและจัดสรรทรัพยากรให้กับโปรแกรมต่าง ๆ
     ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ระบบต่างๆ การทํางานของคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทํางานด้วยตัวเองได้ แต่จะต้องอาศัยโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางานซึ่งเรียกว่า ซอฟต์แวร์” (Software) โดยทั่วไปซอฟต์แวร์จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โปรแกรมสําเร็จรูป และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้จะมีหน้าที่ ในการจัดการและควบคุมการทํางานและอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การจัดการเกี่ยวกับการแสดงผลบนจอภาพ รับข้อมูลทางแป้นพิมพ์หรือเมาส์ การจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลลงแฟ้ม การติดตั้งโปรแกรม นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการยังช่วยสร้างส่วนติดต่อ ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ (User interface) ให้ง่ายต่อการใช้งาน ระบบปฏิบัติการมีอยู่หลาย ระบบ ซึ่งมีการพัฒนาจากผู้ผลิตหลายบริษัท แต่ที่สําคัญ

1. ระบบปฏิบัติการ DOS (Disk Operating System)
          ระบบ DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM เพื่อให้เป็นระบบปฏิบัติการสําหรับ
เครื่องพีซี ซึ่งตัวโปรแกรม DOS จะถูก Load หรืออ่านจากแผ่นดิสก์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจําก่อน จากนั้น DOS จะไปทําหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานต่าง ๆ ระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหลายโดยอัตโนมัติ โดยที่ DOS จะรับคําสั่งจากผู้ใช้หรือโปรแกรมแล้ว นํ าไปปฏิบัติตาม โดยการทํางานจะเป็นแบบ Text mode สั่งงานโดยการกดคําสั่งเข้าไปที่ซีพร็อม (C:>)ดังนั้น ผู้ใช้ระบบนี้จึงต้องจําคําสั่งต่าง ๆ ในการใช้งานจึงจะสามารถใช้งานได้ ระบบปฏิบัติการ DOS ถือได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่เก่าแก่. และปัจจุบันนี้มีการใช้
2. ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows
         Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งจะมีส่วนติดต่อกับ ผู้ใช้(User interface) เป็นแบบกราฟิก หรือเป็นระบบที่ใช้รูปภาพแทนคําสั่ง เรียกว่า GUI (Graphic User Interface) โดยสามารถสั่งให้เครื่องทํางานได้โดยใช้เมาส์คลิกที่สัญลักษณ์หรือคลิกที่คําสั่งที่ต้องการ ระบบนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมได้มากกว่า 1 โปรแกรมในขณะเดียวกันซึ่งถ้าเป็นระบบ DOS หากต้องการเปลี่ยนไปทํางานโปรแกรมอื่น ๆ จะต้องออกจาก โปรแกรมเดิมก่อนจึงจะสามารถไปใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้ ในลักษณะการทํางานของ Windows จะมีส่วนที่เรียกว่า หน้าต่าง โดยแต่ละโปรแกรมจะถือเป็นหน้าต่างหนึ่งหน้าต่าง ผู้ใช้สามารถ สลับไปมาระหว่างแต่ละหน้าต่างได้ นอกจากนี้ระบบ Windows ยังให้โปรแกรมต่าง ๆ สามารถ แชร์ข้อมูลระหว่างกันได้ผ่านทางคลิปบอ์.ด (Clipboard) ระบบ Windows ทําให้ผู้ใช้ ทั่ว ๆไปสามารถทําความเข้าใจ เรียนรู้และใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น
3. ระบบปฏิบัติการ Unix
           Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้บนเครื่อง SUN ของบริษัท SUN Microsystems แต่ไม่ได้เป็นคู่แข่งกับบริษัท Microsoft ในเรื่องของระบบปฏิบัติการบนเครื่อง PC แต๋อย่างใด แต่Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช็เทคโนโลยีแบบเปิด (Open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้อง ผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ Unix ยังถูกออกแบบมาเพื่อ ตอบสนองการใช้งานในลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกัน เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้(Multiuser system) และสามารถทํางานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (Multitasking system)
4. ระบบปฏิบัติการ Linux
           Linux เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ DOS, Windows หรือ Unix โดยLinuxนั้นจัด ว่าเป็นระบบปฏิบัติการ Unix ประเภทหนึ่ง การที่Linuxเป็นที่กล่าวขานกันมากในช่วงปี 1999 2000 เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติ การและโปรแกรมประยุกต์ที่ ทํ างานบนระบบ Linux โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU’s Not UNIX) และสิ่งที่สําคัญที่สุดก็คือ ระบบ Linux เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อ โปรแกรม Linux นั้นมี นักพัฒนาโปรแกรมจากทั่วโลกช่วยกันแก้ไข ทําให้การขยายตัวของ Linux เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยในส่วนของใจกลางระบบปฏิบัติการ หรือ Kernel นั้นจะมีการพัฒนาเป็นรุ่นที่ 2.2 (Linux Kernel 2.2) ซึ่งได้เพิ่มขีดความสามารถและสนับสนุนการทํางานแบบหลายซีพียู หรือ SMP (Symmetrical Multi Processors) ซึ่งทําให้ระบบLinux สามารถนําไปใช้สําหรับทํางาน เป็น Saver ขนาดใหญ่ได้ระบบ Linux ตั้งแต่รุ่น 4 นั้น สามารถทํางานได้บนซีพียูทั้ง 3 ตระกูล คือ บนซีพียูของ อินเทล (PC Intel) ดิจิทัลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer และซันสปาร์ค (SUN SPARC) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM (Red Hat Package Management) ถึงแม้ว่าขณะนี้ Linux ยังไม่สามารถแทนที่ Microsoft Windows บนพีซีหรือ Mac OS ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ก็มีผู้ใช้ จํานวนไม่น้อยที่สนใจมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บน Linux และเรื่องของการดูแล ระบบ Linux นั้น ก็มีเครื่องมือช่วยสําหรับดําเนินการให็สะดวกยิ่งขึ้น
  4.ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
    ระบบปฏิบัติการบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันนี้ ระบบปฏิบัติการบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยม จะแยกตามฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานได้เป็น 2 ระบบ
คือ ระบบปฏิบัติการที่ทำงานบนเครื่อง ไอบีเอ็มพีซี (IBM personal Computer) หรือ เลียนแบบไอบีเอ็มพีซี (IBM PC Competible) และระบบปฏิบัติการที่ทำงานบนเครื่องแมคอินทอช (Macintosh)
            โดยปกติแล้ว โปรแกรมประยุกต์ใด ๆ จะสามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น เช่น โปรแกรม
ไมโครซอฟต์เวิร์ดที่ถูกออกแบบมาให้ทำงานบนเครื่องไอบีเอ็มพีซี ก็จะไม่สามารถนำไปใช้งานบนเครื่องแมคอินทอช เพราะเครื่องไอบีเอ็มพีซี จะนิยมใช้ระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟต์ที่เรียกว่า เอ็มเอสดอส (MS - DOS) หรืออาจใช้ระบบที่ใหม่กว่า คือ
ไมโครซอฟต์วินโดว์ (Microsoft Windows) หรือระบบปฏิบัติการแบบเปิดในตระกูลยูนิกซ์ เช่น SCO UNIX หรือ LINUX ในขณะที่เครื่องแมคอินทอชใช้ระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า แมคอินทอชซิสเต็มเซเว่น (Macintosh System 7) ซึ่งออกแบบโดยบริษัทแอปเปิล การที่เครื่องสองชนิดใช้ระบบปฏิบัติการต่างกัน เนื่องมาจากมีหน่วยประมวลผลกลางไม่เหมือนกัน ผู้ที่จะผลิตซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์จะต้องเลือกที่จะผลิตซอฟต์แวร์ให้ใช้บนระบบใดระบบหนึ่ง หรือถ้าจะให้ใช้ได้บนระบบปฏิบัติการทั้งสองชนิด
ก็ต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาสองชุด โดยมากแล้วผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สนใจว่าจะใช้ระบบปฏิบัติการใด แต่จะเลือกซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่สามารถทำงานให้ได้ประโยชน์สูงสุดตามต้องการ แล้วจึงพิจารณาว่าซอฟต์แวร์นั้นทำงานบนระบบปฏิบัติการชนิดใด แต่ผู้ใช้บางกลุ่มก็เจาะจงเลือกใช้ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส เพราะมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ให้เลือกใช้ได้มากมาย และผู้ใช้บางกลุ่มก็ต้องการใช้เครื่องแมคอินทอช เพราะมีระบบโต้ตอบผู้ใช้ที่ได้ง่ายและสวยงาม

5.ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
          ระบบปฏิบัติการเครือข่ายระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network operating System หรือ NOS) จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกออกแบบมาสำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ ระบบปฏิบัติการเครือข่ายมีคุณสมบัติต่างๆ คล้ายระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส แต่เพิ่มการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน รวมทั้งมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมูลด้วย
            ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบัน จะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) โดยส่วนประกอบสำหรับการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่บนเครื่องไคลเอนต์ เช่น การติดต่อกับผู้ใช้ การประมวลผล เป็นต้น การจัดการให้ผู้ใช้เห็นว่างานและอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้นั้นเสมือนอยู่บนเครื่องไคลเอนต์เอง ถือว่าเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการเครือข่าย


บทที่3
อุปกรณ์และวิธีการดำเนินการ
การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการศึกษาเรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware)   
1.วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา
     1.1เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
     1.2โปรแกรมที่ใช้ในการดำเนินงาน ได้แก่
         1)โปรแกรม Microsoft Word
        2)โปรแกรม  My computer
2.ขั้นตอนการดำเนินงาน
2.1คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
2.2ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือเรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใด จากเว็บไซต์ต่าง ๆ และจัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป








บทที่ 4
ผลการดำเนินโครงงาน
      
การเริ่มต้นการทำงานของระบบปฏิบัติการ
      การเริ่มต้นทำงานของระบบปฏิบัติการดอส การเริ่มต้นทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นโดยอัตโนมัติจากส่วนของชุดคำสั่งที่จัดเก็บอยู่ บนหน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อ่านได้อย่างเดียวที่เรียกว่ารอม(Read Only Memory : ROM) คำสั่งเหล่านี้จะทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์พื้นฐานและทำการบรรจุระบบปฏิบัติการจากแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ขึ้นสู่หน่วยความจำหลัก หลังจากนี้การควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะถูกบรรจุไปอยู่บนหน่วยความจำหลักเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โปรแกรมหนึ่งในระบบปฏิบัติการดอสที่ถูกบรรจุคือโปรแกรมคำสั่งที่มีชื่อว่า command.com และกระบวนการเริ่มต้นการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้เรียกกันทั่วไปว่า การบูทเครื่อง (boot) คอมพิวเตอร์
การบูทเครื่องคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีคือ
1. Cold Boot คือการเปิดเครื่องด้วยสวิตช์ปิดเปิดเครื่อง (power)
2. Worm Boo t คือ จะใช้วิธีนี้ในขณะที่เครื่องเปิดอยู่ ในกรณีที่เครื่องค้าง
(Hank)    เครื่องไม่ทำงานตามที่เราป้อนคำสั่งเข้าไปการบูทเครื่องแบบนี้สามารถ
กระทำได้อยู่   2   วิธีคือ
1. กดปุ่ม Reset
2. กดปุ่ม Ctrl+Alt+Del พร้อมกัน แล้วปล่อยมือ
        ระบบปฏิบัติการดอส (DOS : Disk Operating System) เริ่มมีใช้ครั้งแรกบนเครื่อง IBM PC ประมาณปี ค.ศ. 1981 เรียกว่าโปรแกรม PC-DOS ต่อมาบริษัทไมโครซอฟต์ได้สร้าง MS-DOS สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่รุ่น Versions 1.0 2.0 3.0 3.30 4.0 5.0 6.0 และ 6.22 ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ ที่มีทรัพยากรของระบบน้อย
ตัวอย่างหน้าต่างระบบปฏิบัติการ  MS-Dos


การใช้คำสั่งดอส โดยการพิมพ์คำสั่งที่เครื่องหมายพร้อมรับคำสั่ง ในลักษณะ Command Line ซึ่ง DOS ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยการพิมพ์คำสั่ง ไม่มีภาพกราฟิกให้ใช้ เรียกว่าทำงานในโหมดตัวอักษร Text Mode
ข้อเสีย คือ ติดต่อกับผู้ใช้ไม่สะดวก เพราะผู้ใช้ต้องจำ และพิมพ์คำสั่งให้ถูกต้องโปรแกรมจึงจะทำงาน ดังนั้นประมาณปี ค.ศ. 1985 บริษัทไมโครซอฟต์ได้พัฒนา Microsoft Windows Version 1.0 และเรื่อยมาจนถึง Version 3.11 ในปีค.ศ. 1990 ซอฟต์แวร์ดังกล่าว ทำงานแบบกราฟิกเรียกว่า Graphic User Interface (GUI) ทำหน้าที่แทนดอส ทำให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้อย่างมาก คุณสมบัติเด่นของ Microsoft Windows 3.11 คือทำงานในกราฟิกโหมด เป็น Multi-Tasking และ Generic แต่ยังคงทำงานในลักษณะ Single-User ยังคงต้องอาศัยระบบปฏิบัติการดอส ทำการบูทเครื่องเพื่อเริ่มต้นระบบก่อน
       ความยาวของชื่อ-นามสกุล ไฟล์ความแตกต่างที่เห็นในชัดของชื่อไฟล์ในระบบ DOS กับ Windows คือ ความยาวของชื่อไฟล์ Windows สามารถตั้งชื่อให้ยาวได้มากถึง 255 ตัวอักษร ส่วนในระบบ DOS ชื่อและนามสกุลของไฟล์จะถูกจำกัดได้เพียง
ชื่อยาวไม่เกิน 8 ตัวอักษร นามสกุลยาวไม่เกิน 3 ตัวอักษร
ตัวอย่าง Readme.TXT (ชื่อไฟล์ Readme หลังจุดคือนามสกุล TXT)

  คำสั่งระบบ DOS พื้นฐาน
 1. DIR (Directory)คำสั่งในการแสดงรายชื่อไฟล์ รายชื่อไดเรกทอรี่ (Folder ใน windows ปัจจุบัน)
ตัวอย่างการใช้งาน (รวมคำสั่งย่อย ๆ)
Dir – แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ทั้งหมด พร้อมทั้งขนาดไฟล์ + วันเวลาอัปเดทล่าสุด
Dir /p – แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ในแนวนอน ให้หยุดแสดงทีละหน้า (กรณีที่มีจำนวนไฟล์ยาวมากกว่า 1 หน้าจอ)
Dir /w – แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ในแนวนอน
Dir /s, – แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ และไฟล์ที่อยู่ในไดเรกทอรี่ย่อยด้วย
Dir /od – แสดงรายชื่อไฟล์ ให้เรียงตามวันที่อัปเดท Dir /n – แสดงรายชื่อไฟล์ ให้เรียงตามชื่อ

2. CLS (Clear Screen)คำสั่งสำหรับลบหน้าจอออก
3. DEL (Delete)คำสั่งในการลบชื่อไฟล์ที่ต้องการ เช่น DEL readme.txt หมายถึงให้ลบชื่อไฟล์ README.TXT
ตัวอย่างการใช้งาน (รวมคำสั่งย่อย ๆ)
Del readme.txtลบไฟล์ชื่อ readme.txt
Del *.* – ให้ลบไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเรกทอรี่ปัจจุบัน
Del *. – ให้ลบไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเรกทอรี่ปัจจุบัน เฉพาะไฟล์ที่ไม่มีนามสกุล

4. MD (Make Directory)คำสั่งในการสร้างไดเรกทอรี่ เช่น MD Photo จะได้ไดเรกทอรี่ C:Photo
5. CD (Change Directory)คำสั่งในการเข้าไปในไดเรกทอรี่ (CD คือคำสั่งในการออกจากห้องไดเรกทอรี่)
6. RD (Remove Directory)คำสั่งในการลบไดเรกทอรี่ เช่น RD Photo (เราจะต้องอยู่นอกห้องไดเรอทอรี่ Photo)
7. REN (Rename)คำสั่งในการเปลี่ยนชื่อชือ เช่น REN readme.txt read.me หมายถึงการเปลี่ยนชื่อไฟล์เป็น READ.ME

   ชนิดคำสั่ง DOS
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำ สั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น

     รูปแบบและการใช้คำสั่งต่างๆในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
[d:] หมายถึง Drive เช่น A:, B:
[path] หมายถึง ชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย
[filename] หมายถึง ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์
[.ext] หมายถึง ส่วนขยาย หรือนามสกุล
หมายเหตุ : ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] ) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง

    ทดลองใช้คำสั่ง DOS ใน Windowsสำหรับผู้ใช้งาน Windows 95,98 สามารถทดสอบการใช้งานระบบ DOS ได้ มีวิธีเรียกใช้งานดังนี้
1. คลิกปุ่ม Start เลือก คำสั่ง RUN พิมพ์คำว่า Command หรือ
2. คลิกปุ่ม Start เลือกเมนู Program และเลือกโปรแกรม MS-DOS
3. ต้องการให้หน้าจอแสดง DOS เต็มจอให้กดปุ่ม ALT พร้อมกับปุ่ม Enter
4. และถ้าต้องการให้หน้าจอเล็กดังเดิม ก็ให้กดปุ่ม ALT พร้อมกับปุ่ม Enter เช่นเดียวกัน
5. เลิกทดสอบและต้องการเข้าระบบ Windows ให้พิมพ์คำว่า EXIT

   การติดตั้งโปรแกรมดอสจากแผ่นดิสก์ 4 แผ่น
1. ให้นำแผ่น DOS แผ่นที่ 1 ใส่ในไดร์ฟ A แล้ว Restart เครื่อง
2. รอสักพักจะมีหน้าจอสีฟ้า ให้กด Enter เลยไป
3. พบกรอบสี่เหลี่ยมมีข้อความให้เลือก 2 บรรทัด คือ บรรทัดแรกออกจากไป DOS Prompt
4. บรรทัดที่ 2 ให้ SETUP โปรแกรม DOS ให้เลือกรายการ SETUP กด N
5. จะพบข้อความว่า The Setting are Correct แปลว่า การติดตั้งถูกต้องให้กด Enter
6. จะพบข้อความให้เปลี่ยนชื่อ Directory C:DOS ถ้าไม่ประสงค์จะเปลี่ยนให้กด Enter
7. จะพบข้อความสีฟ้าอ่อน ความหมายคือ โปรแกรมจะเริ่มตรวจเช็คค่าที่จำเป็นเกี่ยวกับภาษา กด Enter
8. จะพบกรอบข้อความที่มีข้อความว่า เก็บค่า เก็บค่าออกจากโปรแกรม ให้เลื่อนแถบสีแดงมาทับ แล้วกด Enter
9. โปรแกรมจะเริ่ม COPY ไฟล์จากแผ่นลงฮาร์ดดิสก์จากแผ่นที่ 1 ไปเรื่อย ๆ จนมีรายการหน้าจอให้ใส่แผ่นที่ 2 , 3 และ 4 ตามลำดับ
10. ส่วนแผ่นที่ 4 พอได้ 99% จะมีรายงานให้กด Y กด Y แล้วกดดังรูป
11. แล้วรอสักพักจะมีรายงานให้กด Enter และมีรายงานให้นำแผ่นออกจากไดร์ฟ A แล้ว Restart เครื่องอีกครั้ง การลงโปรแกรม DOS ก็เสร็จเรียบร้อย

ระบบปฏิบัติการ DOS และคำสั่งพื้นฐาน
 ระบบ Dos ใช้งานได้หลายทาง
ระบบปฏิบัติการ DOS  Dos ย่อมาจาก Disk Operating System เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นแรก ๆ ซึ่งการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการทำงานบนระบบปฏิบัติการดอสเป็นหลัก โดยการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานโดยการใช้คำสั่งผ่านบรรทัดคำสั่ง (Command Line) ที่นิยมใช้กันคือ MS-Dos ซึ่งต่อมาระบบปฎิบัติการดอสจะถูกซ่อนอยู่ใน Windows
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ  
     1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
     2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำ สั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น

รูปแบบและการใช้คำสั่งต่าง ๆ
ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
       [d:] หมายถึง    Drive เช่น A:, B:
       [path]  หมายถึงชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย
       [filename] หมายถึง ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์
       [.ext] หมายถึง                 ส่วนขยาย หรือนามสกุล
หมายเหตุ ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] ) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง

รูปแบบและการใช้คำสั่งภายใน (Internal Command)
คำสั่ง                                          หน้าที่                                                      รูปแบบ
CLS (CLEAR SCREEN)         ลบข้อมูลบนจอภาพขณะนั้น                   CLS
DATE                                       แก้ไข/ดูวันที่ให้กับ SYSTEM                    DATE
TIME                                        แก้ไข/ดูเวลา ให้กับ SYSTEM                  TIME
VER (VERSION)                     ดูหมายเลข (version) ของดอส                  VER
VOL (VOLUME)                      แสดงชื่อของ DISKETTE                          VOL [d:]
DIR (DIRECTORY)     ดูชื่อแฟ้มข้อมูล, เนื้อที่บนแผ่นดิสก์, ชื่อแผ่นดิกส์  DIR [d:] [path] [filename [.ext]] [/p] [/w]
 /p                                               หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลทีละ 1 หน้าจอภาพ ถ้าต้องการดูหน้าต่อไปให้กดแป้นใด ๆ
/w                                               หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลตามความกว้างของจอภาพ
TYPE                                       แสดงเนื้อหาหรือข้อมูลในแฟ้มข้อมูลที่กำหนด  TYPE [d:] [path] [filename.[.ext]]
COPY     ใช้คัดลอกแฟ้มข้อมูลหนึ่ง หรือหลายแฟ้มข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลต้นทาง ไปยังแฟ้มข้อมูลปลายทาง อาจจะเป็นจากแผ่นดิสก์แผ่นหนึ่งหรือแผ่นดิสก์เดิมก็ได้    COPY [d:] [path] [filename[.ext]] [d:] [path] filename[.ext]]
REN (RENAME]   เปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล (ข้อมูลข้างในแแฟ้มข้อมูลยังเหมือนเดิม) DEL (DELETE)    ลบแฟ้มข้อมูลออกจากแฟ่นดิสก์            DEL [d:] [path] [filename[.ext]]PROMPT COMMAND        เปลี่ยนรูปแบบตัวพร้อมรับคำสั่ง (system prompt) เป็นตัวใหม่ตามที่ต้องการ       PROMPT [prompt-text] or propt $p$


$ หมายถึงตัวอักษร
t หมายถึง เวลา
d หมายถึง วัน เดือน ปี
p หมายถึง เส้นทาง Directory ปัจจุบัน
v หมายถึง DOS VERSION NUMBER
g หมายถึง เครื่องหมาย >
l หมายถึง เครื่องหมาย <
q หมายถึง เครื่องหมาย =
MD (MAKE DIRECTORY) สร้าง subdirectory (ห้องย่อย) เพื่อจัดเก็บแฟ้มข้อมูล            MD [d:] [path] [Dir_name]
CD (CHANGE DIRECTORY)             เป็นคำสั่งในการเปลี่ยนไปใช้งาน subdirectory ที่ต้องการ    CD [d:] [path] [Dir_name]
CD\ (การย้ายกลับมาสู่ ROOT DIRECTORY
CD.. (การย้ายกลับมาที่ DIRECTORY)
RD (REMOVE DIRECTORY)            ลบ subdirectory (ห้องย่อย) ที่สร้างด้วยคำสั่ง MD RD [d:] [path] [Dir_name]
คำสั่งภายนอก(EXTERNAL COMMAND) คำสั่งภายนอกมี 2 นามสกุล
1.นามสกุลเป็น .COM เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่ถูกแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
2.นามสกุลเป็น .EXE เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่เขียนโดยใช้ภาษาระดับสูงและแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
คำสั่ง       หน้าที่      รูปแบบ
TREE     แสดงรายชื่อ directory ทั้งหมดในแผ่นดิสก์ ที่กำหนด           TREE [d:] [/f]
/f หมายถึงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแต่ละ subdirectory ด้วย
SYS (SYSTEM)    เป็นคำสั่ง copy แฟ้มข้อมูลที่ใช้ในการเปิดเครื่องลงในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ ที่ไม่มีระบบ (เปิดเครื่องไม่ได้)                SYS [d:]
CHKDSK (CHECK DISK)   ตรวจสอบ directory หรือ file แสดงจำนวน memory ที่ใช้ไปและที่เหลืออยู่ รวมถึงเนื้อที่ บนแผ่นดิสก์ที่ใช้ไป และที่เหลืออยู่                CHKDSK [d:] [path] [filename[.ext]] [/f] [/v]
/f หมายถึง การตรวจสอบเนื้อที่ที่เสียหาย
/v หมายถึง ให้แสดง directory และ แฟ้มข้อมูลที่ซ่อนอยู่
LABEL  เพื่อกำหนดชื่อ (volume label), เปลี่ยนหรือลบ volume label บนดิสก์  LABEL [d:] [volume label]
FORMAT               กรณีที่ diskette ใหม่ จะเป็นการจัด track และ sector ของ diskette ใหม่ เพื่อให้เขียนข้อมูลได้
กรณี ที่เป็น diskette ที่มีข้อมูลอยู่แล้วเมื่อใช้คำสั่งนี้ข้อมูลจะถูกล้างไปหมด พร้อมที่เขียนข้อมูลใหม่                FORMAT [d:] [/s] [/v] /s หมายถึง ทำการformat โดยทำการคัดลอก โปรแกรมระบบดอส (BIO.COM, OS.COM, COMMAND.COM)
/v หมายถึง กำหนด volume label ให้ดิสก์
DISKCOPY (COPY DISKETTE         เป็นคำสั่งที่ใช้ copy file ทั้งหมดจากแผ่นดิสก์จากแผ่นหนึ่งไปใส่อีกแผ่นหนึ่ง แต่ถ้าแผ่นดิสก์อีกแผ่น ยังไม่ได้ทำการ format ก็จะทำการ format ให้โดยอัตโนมัติ      DISKCOPY [d:] [d:]

การใช้งานคำสั่งต่างๆของ DOS
CD คำสั่งเข้า-ออก ในไดเร็คทอรี่
CD (Change Directory) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนไดเร็คทอรี่ในโหมดดอส เช่น ถ้าต้องการรัน คำสั่งเกมส์ที่เล่นในโหมดดอส ซึ่งอยู่ในไดเร็คทอรี MBK ก็ต้องเข้าไปในไดเร็คทอรีดังกล่าวเสี่ยก่อนจึงจะรันคำสั่งเปิดโปรแกรมเกมส์ ได้
รูปแบบคำสั่ง
CD [drive :] [path]
CD[..]
เมื่อเข้าไปใน ไดเร็คทอรีใดก็ตาม แล้วต้องการออกจากไดเร็คทอรีนั้น ก็เพียงใช้คำสั่ง CD\ เท่านั้นแต่ถ้าเข้าไปในไดเร็คทอรีย่อยหลาย ๆ ไดเร็คทอรี ถ้าต้องการออกมาที่ไดรว์ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ให้ใช้คำสั่ง CD\ เพราะคำสั่ง CD.. จะเป็นการออกจากไดเร็คทอรีได้เพียงลำดับเดียวเท่านั้น
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
CD\ กลับไปที่ Root ระดับสูงสุด เช่น ถ้าเดิมอยู่ที่ C:\>docs\data> หลังจากใช้คำสั่งนี้ก็จะย้อนกลับไปที่ C:\ >
CD.. กลับไปหนึ่งไดเร็คทอรี เช่น ถ้าเดิมอยู่ที่ C:\windows\command> หลังจากนั้น ใช้คำสั่งนี้ก็จะก็จะย้อนกลับไปที่ C:\windows>

CHKDSK (CHECK DISK) คำสั่งตรวจเช็คพื้นที่ดิสก์
CHKDSK เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลของหน่วยความจำ และการใช้งานดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ การรายงานผลของคำสั่งนี้จะเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ไดเร็คทอรี และ FAT ของดิสก์ หรือไฟล์ เพื่อหาข้อมผิดพลาดของการเก็บบันทึก ถ้า CHKDSK พบว่ามี Lost Cluster จะยังไม่แก้ไขใด ๆ นอกจากจะใช้สวิตซ์ /f กำหนดให้ทำการเปลี่ยน Lost Cluster ให้เป็นไฟล์ที่มีชื่อไฟล์เป็น FILE0000.CHK ถ้าพบมากว่า 1 ไฟล์ อันต่อไปจะเป็น FILE0002.CHK ไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังสามารถรายงานปัญหาที่ตรวจพบได้อีก อย่างเช่น จำนวน Bad Sector , Cross-ling Cluster (หมายถึง Cluster ที่มีไฟล์มากกว่าหนึ่งไฟล์แสดงความเป็นเจ้าของ แต่ข้อมูลใน Cluster จะเป็นของไฟล์ได้เพียงไฟล์เดียวเท่านั้น)
รูปแบบคำสั่ง
CHKDSK [drive:][[path]filename] [/F] [/V]
[drive:][path] กำหนดไดรว์ และไดเร็ทอรีที่ต้องการตรวบสอบ
filename ชื่อไฟล์ที่ต้องการให้ตรวจสอบ
/F สั่งให้ Fixes Errors ทันทีที่ตรวจพบ
/V ขณะที่กำลังตรวจสอบ ให้แสดงชื่อไฟล์และตำแหน่งของดิสก์บนหน้าจอด้วย

ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\WINDOWS>CHKDSK D: ตรวจสอบข้อมูลการใช้งานดิสก์ในไดรว์ D
C:\>CHKDSK C: /F ตรวจสอบ ไดรว์ C พร้อมกับซ่อมแซมถ้าตรวจเจอปัญหา

COPY คำสั่งคัดลอกไฟล์
Copy เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ จากไดเร็คทอรีหนึ่งไปยังไดเร็คทอรีที่ต้องการ คำสั่งนี้มีประโยชน์มากควรหัดใช้ให้เป็น เพราะสามารถคัดลอกไฟล์ได้ยามที่ Windows มีปัญหา
รูปแบบคำสั่ง
COPY [Source] [Destination]
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\COPY A:README.TXT คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จากไดรว์ A ไปยังไดรว์ C
C:\COPY README.TXT A: คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จากไดรว์ C ไปยังไดรว์ A
C:\INFO\COPY A:*.* คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C
A:\COPY *.* C:INFO คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C



บทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะ
การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ การเผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ (OS: Operating System) นี้ สรุปผลการดำเนินและข้อเสนอแนะได้ ดังนี้
1.สรุปผลการดำเนินงานของระบบปฏิบัติการ
ผู้จัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ การเผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ (OS: Operating System) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1.1 เนื้อหาในบทเรียน
1.2 ที่มาและความสำคัญของระบบปฏิบัติการ
1.3 ความหมายของระบบปฏิบัติการ
1.4โปรแกรมที่ใช้ในการดำเนินงาน
2.อุปสรรคในการทำโครงงาน
การเผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ (OS: Operating System) และได้มีการทดลองทำให้พบปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
2.1 มีปัญหาในการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เกิดจากอินเทอร์เน็ตไม่เสถียร
2.2 เครื่องคอมพิวเตอร์มีปัญหาเนื่องจากไวรัสเข้าเครื่องทำให้งานหายบ่อย
3.ข้อเสนอแนะ
            3.1 ควรมีการจัดทำโครงงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะได้เผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อออนไลน์ได้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้


บรรณานุกรม
1. ความหมายของระบบปฏิบัติการ วันที่สืบค้น:  20  กันยายน 2557
2.ระบบปฏิบัติการ DOS วันที่สืบค้น: 20  กันยายน 2557
3.ระบบปฏิบัติการ Windows วันที่สืบค้น: 20  กันยายน 2557
4.ระบบปฏิบัติการ Linux สืบค้นวันที่: 20 กันยายน 2557















148740_1534462616782754_100780344257691597_n.jpgภาพผนวก
10665924_1534462986782717_7408788499121561723_n.jpg


10603630_1534462830116066_8243614703525231128_n.jpg10646991_1534463013449381_6134144911935444876_n.jpg10626455_1534462933449389_6122857033401794342_n.jpg10492091_1534462886782727_838082326715880292_n.jpg






















การใช้งานระบบปฏิบัติการเบื้องต้น



1. แนะนำระบบปฏิบัติการ

   ระบบปฏิบัติการ เป็นระบบโปรแกรมที่ผู้พัฒนามีจุดประสงค์สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์ (Software) ประเภทต่างๆ ให้สามารถทำงานร่วมกันกับบุคลากร (People ware) ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้อย่างราบรื่นและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังรูปที่ 3.1 นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการที่ดียังมีหน้าที่ควบคุมการทำงานให้ผู้ใช้ให้สามารถทำงานหลายงาน (Multitasking) หรือหลายคน (Multi-user) ได้ในเวลาเดียวกันโดยไม่ส่งกระทบกับการทำงานของบุคคลอื่น รวมไปถึงการควบคุม (Control) การใช้งาน การให้สิทธิการเข้าถึงไฟล์ข้อมูล (Access File) การรักษาความปลอดภัย (Security) การป้องกันการรุกราน (Protection) จากผู้ไม่หวังดีเข้ามาใช้งานระบบได้








1.1 ประเภทของระบบปฏิบัติการ

1.1.1 แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งาน (Divided by Objective)    

1) การใช้งานโดยลำพัง (Stand-alone) เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยวัตถุประสงค์เพื่อใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่รู้จักกันในรูปแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์สวนบุคคล (Personal Computer: PC) หรือเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) ที่ทำงานโดยไม่มีการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เช่น MS-DOS, Linux, Mac OS, และ Windows รุ่นต่างๆ

          2) การใช้งานโดยมีการเชื่อมโยง (Network Connection) เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยวัตถุประสงค์เพื่อใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทีการเชื่องโยงกันตั้งแต่หนึ่งเครื่องขึ้นไป โดยมีการใช้ทรัพยากรร่วมกับบนระบบเครือข่ายแม่/ผู้ให้บริการ (Server) และเครือข่ายลูก/ผู้รับบริการ (Client) เช่น Novell Netware, Linux, UNIX, Windows Server และ Solaris เป็นต้น                     

3) การใช้งานแบบฝังตัว (Embedded) เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในหน่วยความจำแบบถาวร (Read Only Memory: ROM) โดยส่วนใหญ่จะพบได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา เช่น Windows CE, Windows Mobile, Pocket PC’s OS, Android, Blackberry OS เป็นต้น         

          1.1.2 การแบ่งตามลักษณะการใช้งาน (Divided by Used)

1) การใช้งานโดยคนเดียว (Single User) เป็นระบบปฏิบัติการที่การใช้งานในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง จะมีผู้ใช้งานเพียงหนึ่งคนเท่านั้น แต่ผู้ใช้งานสามารถที่จะทำงานหลายอย่างได้ในเวลาเดียวกันหรือเปิดใช้งานพร้อมกันหลายโปรแกรมได้ เช่น Linux, Mac OS, และ Windows 95  ขึ้นไป เป็นต้น      
          2) การใช้งานได้หลายคน (Multi User) เป็นระบบปฏิบัติการที่การใช้งานในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง จะมีผู้ใช้งานได้มากกว่าหนึ่งคนในเวลาเดียวกัน เช่น Novell Netware, Linux, UNIX, Windows Server และ Solaris เป็นต้น                 

     3) การใช้งานเดียว (Single Tasking) เป็นระบบปฏิบัติการที่กำหนดให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลการทำงานของโปรแกรมได้ที่ละหนึ่งงานเท่านั้น โดยลักษณะการทำงานจะเป็นการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานภายใต้เครื่องหมายคำสั่ง (Command Line) ที่ละคำสั่งจนเสร็จ ซึ่งในปัจจุบันผู้ใช้ไม่นิยมใช้ระบบปฏิบัติการประเภทนี้แล้ว เช่น DOS เป็นต้น

           4) การใช้งานพร้อมกันได้หลายงาน (Multi Tasking) เป็นระบบปฏิบัติการที่กำหนดให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลการทำงานของโปรแกรมได้ที่ละหลายงานพร้อมกัน โดยลักษณะการทำงานจะเป็นการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานมากกว่าหนึ่งงานในเวลาเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันระบบปฏิบัติส่วนจะเป็นการทำงานในลักษณะนี้แทบทุกระบบปฏิบัติการ          



1.2 การเลือกใช้ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์

 1.2.1 เครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) ใช้ระบบปฏิบัติการ IRIX และ UNICOS      
 1.2.2 เครื่องเมนเฟรม (Mainframe Computer) ใช้ระบบปฏิบัติการ OS/390, Linux และ UNIX    
 1.2.3 เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) ใช้ระบบปฏิบัติการ OS400, Linux และOpenVMS     
 1.2.4 เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows, Linux และ UNIX
 1.2.5 เครื่องเวิร์กสเตชั่น (Workstation) ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows, Mac OS, Linux และ OS/2     

1.3 วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ

       การก่อกำเนิดของระบบปฏิบัติการได้ถูกพัฒนาและเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยุคเริ่มต้นที่เป็นอุปกรณ์และเครื่องคำนวณที่มีคำสั่งการทำงานแบบง่ายๆ ไม่มีความซับซ้อนเท่าไรนัก จนมาถึงยุคปัจจุบันที่ระบบปฏิบัติการถูกพัฒนาและนำกับใช้กับงานหลายประเภทและมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้มีผลต่อการพัฒนาและเปลี่ยนแปลระบบปฏิบัติการควบคู่ไปด้วย ดังนั้นเราจึงสามารถจำแนกวิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการตั้งแต่ยุคเริ่มต้นจนมาถึงจนมาถึงยุคปัจจุบันได้ดังนี้



ยุคเริ่มต้น (ช่วงปี ค.. 1940- 1949) เป็นช่วงเริ่มต้นในการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการคำนวณด้วยคำสั่งภาษาเครื่อง (machine language) ในรูปของไบนารีโค้ด (Binary code) ที่เรียกเครื่องคำนวณคำสั่งมือ (hand-code) และในปี ค..1942 จอห์น มอชลี่  (John Mauchly)  และเปรสเบอร์ แอคเคิร์ท (Presper Ackert) จากมหาวิทยาลัยแพนซิลเวนเนีย ได้ร่วมมือกันสร้างคอมพิวเตอร์ อิเล็คทรอนิคส์เครื่องแรกของโลกมีชื่อว่า ENIAC ย่อมาจาก (Electronic Numerical Integrator And Calculator)



ยุคที่ 1 (ช่วงปี ค.. 1950) เป็นช่วงที่เริ่มมีนักเขียนโปรแกรม (Programmer) เกิดขึ้นและพัฒนาภาษาโปรแกรมที่ใช้จัดการและสั่งงานการประมวลผลแบบกลุ่มที่ละหนึ่งงาน (Batch processing) โดยห้องวิจัยของบริษัทเจนเนอรัลมอเตอร์ (General Motors Research Laboratories) ได้พัฒนาระบบปฏิบัติเพื่อใช้งานและติดตั้งลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็มที่ชื่อว่า IBM 701 การทำงานของระบบปฏิบัติการนี้จะประมวลผลได้ที่ละงาน ตลอดจนความเร็วในการประมวลผลค่อนข้างช้า เพราะข้อจำกัดทางด้านความเร็วของหน่วยความจำ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง